โครงการคลินิกสุขภาพช้างเคลื่อนที่

 หลักการและเหตุผล 

ปัญหาสุขภาพเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการสูญเสียของช้างอย่างมากมาย หรืออาจเรียกว่ามากที่สุดก็ได้ ทั้งนี้เพราะช้างเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ไม่สามารถเดินทางไปรับการรักษาหรือเจ็บป่วยเกินกว่าจะเดินทางด้วยตนเองได้ จนบางครั้งสายเกินกว่าจะรักษา ฉะนั้นการดูแลรักษาช้างป่วยที่เหมาะสมที่สุด ก็โดยการจัดหน่วยดูแลรักษาสุขภาพและรักษาออกไปบริการแก่ช้างถึงที่จึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ตรงจุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์ 

1.   ออกให้บริการตรวจสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆ แก่ช้างในท้องถิ่น 

2.   ออกให้บริการรักษาช้างป่วย ตลอดจนควบคุมช้างตกมันอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ 

3.   ร่วมสำรวจ ศึกษา วิจัย เพื่อสุขภาพที่ดีของช้าง 

การดำเนินการ 

การป้องกันโรคและตรวจสุขภาพโดยเบื้องต้นนี้จะดำเนินการปีละ 2 ครั้ง ในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งรวมของช้าง โดยจะมีช้างมารวมกันคราวละประมาณ 150 เชือกปีละ 300 เชือก

สิ่งที่ปรากฏในการป้องกันโรคและตรวจสุขภาพ คือ 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ 

                  1.   ลดอัตราการเจ็บป่วยและสูญเสียช้างไปอย่างไม่จำเป็นโดยการให้การตรวจป้องกันอย่างถูกต้องเหมาะสม 

                  2.   ให้การรักษาพยาบาลแก่ช้างได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเกิดการลุกลามเกินกว่าจะรักษาได้ 

                  3.   ลดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอันเนื่องมากจากช้างตกมันอาละวาด 

                  4.   สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่สาธารณชนทั้งในและนอกประเทศในด้านการเมตตาปราณีต่อสัตว์ของชาวไทย 

                  5.   เป็นการสร้างบุคลากรด้านสุขภาพช้าง ให้มีเพิ่มมากขึ้นจนเพียงพอ 

                  6.   เป็นแหล่งศึกษาและสนับสนุนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับช้าง 


รักษาช้างที่โรงพยาบาลกระบี่ 

มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ออกตรวจสุขภาพช้างภาคใต้ ร่วมกับ โรงพยาบาลช้างกระบี่ Krabi Elephant Hospital โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC  ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์-5 มีนาคม 2567 และร่วมควบคุมขบวนช้างแห่ผ้าขึ้นพระธาตุที่วัดราษฎร์อุปถัมภ์(บางเหรียง) อ.ทับปุด จ.พังงา ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้ 

ทีมงาน มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย (Asian elephant Foundation of Thailand) กับ โรงพยาบาลช้างกระบี่ Krabi Elephant Hospital โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC ตระเวนตรวจสุขภาพช้าง อ.นบพิตำ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช และ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 

ตรวจสุขภาพช้างในงานขบวนแห่ผ้าขึ้นพระธาตุฯ วัดบางเหรียง อ.ทับปุด จ.พังงา 

ตรวจสุขภาพช้างและจ่ายยาพื้นฐาน เช่น ยาถ่ายพยาธิภายในและภายนอก วิตามินบำรุงร่างกาย ในโซนพื้นที่ต.โคกเจริญ อ.ทับปุด จ.พังงา 

ตรวจสุขภาพช้างในเส้นทางแหล่งท่องเที่ยว ตั้งแต่ อ.สองแพรก อ.ท้ายเหมือง อ.กะปง จ.พังงา และ อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานี ตะลอนกันอยู่ 2 วัน รวมกันได้ 90 เชือก ส่วนใหญ่มีปัญหาตาแห้ง เจ็บตา และมีแผลที่เล็บ 

มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC โรงพยาบาลช้างกระบี่ Krabi Elephant Hospital ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช้างภาคใต้ ซึ่งทำงานลากไม้ในพื้นที่ อ.ย่านตาขาว, อ.นาโยง, อ.เมืองตรัง, อ.ห้วยยอด, อ.กันตัง, อ.หาดสำราญ, อ.ปะเหลียน และ อ.สิเกา จ.ตรัง สุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ทุกเชือก และตกมันกันหลายเชือกเลยค่ะ ตะลอนกัน 2 วันเต็ม เจอผู้รับบริการถึง 32 เชือก 

มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ร่วมกับพันธมิตรที่น่ารักของเราคือ โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC โรงพยาบาลช้างกระบี่ Krabi Elephant Hospital ให้บริการตรวจสุขภาพช้างโซนภาคใต้ ประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์-5 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 277 เชือก 

มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ให้บริการตรวจสุขภาพช้างภาคใต้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต และ อ.วิภาวดี, อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี

มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC และ สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งชาติ ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช้างแถบชายแดน (จ.ตาก, จ.แม่ฮ่องสอน, จ.เชียงใหม่, จ.เพชรบูรณ์, จ.พิษณุโลก และ จ.สุโขทัย) ตั้งแต่วันที่ 2-22 เมษายน 2567 

มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย ร่วมกับ โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC และ สถาบันวิจัยและบริการสุขภาพช้างแห่งชาติ ลงพื้นที่ให้บริการตรวจสุขภาพช้างแถบชายแดน บ้านปะหละทะ บ้านเซปะหละ ต.แม่ละมุ้ง และ บ้านเดลอคี ต.หนองหลวง อ.อุ้มผาง จ.ตาก 

วันที่ 3 ของการตรวจสุขภาพช้างแถบชายแดน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ทีมงานยังคงต้องนั่งรถและลงเรือ เพื่อเข้าไปหาช้าง รอบนี้มีผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 11 เชือก