มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย  (มชท.)

Asian Elephant Foundation of Thailand  (AEFT)

เริ่มต่อตั้งเป็นชมรม ชมรมคนรักช้าง ปี พ.ศ. 2534

วันที่ก่อตั้งมูลนิธิฯ 5 ตุลาคม 2537

เลขทะเบียนลำดับที่ กท 333   

ใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิ เลขอนุญาต ที่ ต. 585/2537 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2537

ชื่อ มูลนิธิคนรักช้าง

สถานที่ตั้ง 122  ซ.ศึกษาวิทยา (อาคารเกษตรรุ่งเรืองพืชผล ชั้น 2 ห้อง 201 B)    

ถ.สาธรเหนือ  แขวงสีลม  เขตบางรัก  กรุงเทพฯ

จดทะเบียนย้ายสำนักงาน 13 กันยายน 2539

61/4  ซ.พิบูลวัฒนา  แขวงสามเสน  เขตพญาไท  กรุงเทพฯ


จดทะเบียนย้ายสำนักงาน 12 ธันวาคม 2555     

20/23 หมู่ 2  ซ.ประชาชื่นนนทบุรี 2  ถ.ประชาชื่น  ต.บางเขน 

อ.เมือง  จ.นนทบุรี  11000


จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ 15 พฤษภาคม 2540

ชื่อปัจจุบัน มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย


จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 

ทะเบียนเลขที่ 1/2539 วันที่ 25 เมษายน 2539


ได้รับการพิจารณาเป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลลำดับที่ 553 ของประกาศกระทรวงการคลัง

วันที่ 7 ตุลาคม 2547 ใบเสร็จรับเงินของมูลนิธิสามารถนำไปลดหน่อยภาษีได้


จดทะเบียนเป็นองค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

ทะเบียนเลขที่ อ.ปศ.นบ. 001/2558    วันที่ 1 กรกฎาคม 2558


จดทะเบียนและแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิชุดใหม่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (ม.น.4)

สถานที่ตั้งปัจจุบัน  18  ซ.ประชาชื่นนนทบุรี 2  ถ.ประชาชื่น  ต.บางเขน 

อ.เมือง  จ.นนทบุรี  11000

โทรศัพท์ 02-952-5828      โทรสาร  02-952-5829

website : www.asian-elephant.org,   E-mail :  chang@asian-elephant.org


ประวัติความเป็นมา :

ผลจากการพัฒนาประเทศหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้สภาพแวดล้อมและสภาพสังคมของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนถึงทุกวันนี้คนไทยเรามีความอยู่ที่สะดวกสบายกว่าแต่ก่อนมาก แต่ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ความสะดวกสบายที่ว่านี้ไม่ได้ส่งผลดีใดๆ ต่อสรรพสัตว์ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช้าง สัตว์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และเป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่สัญลักษณ์ของประเทศต้องมาทุกข์ทรมานในยุคสมัยของเราและเมื่อปลายปี 2534 ได้มีบุคคลกลุ่มเล็กๆ ที่มีความสนใจในเรื่องช้าง ได้พบปะกันทั้งหมดได้ปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของช้างในประเทศทั้งช้างเลี้ยงและช้างป่า ซึ่งได้ลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ประมาณกันว่าในประเทศไทยยังมีช้างป่าเหลืออยู่ 2,000 ตัว และช้างบ้านอีกประมาณ 3,000 เชือกรวมแล้วจะมีช้างอยู่ในประเทศไทยประมาณ 5,000 ตัว-เชือกเป็นอย่างมาก ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงการประมาณเท่านั้น ในรายละเอียดของข้อมูลเราไม่ทราบเลยว่าตัวเลขนี้มีช้างอยู่จริงๆเท่าไร  มีช้างแก่และช้างเด็กจำนวนเท่าใด  ช้างที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์อีกจำนวนเท่าใด รายละเอียดเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงเผ่าพันธุ์ของช้างในในเมืองไทยเป็นอย่างมากจากตัวเลข 5,000 ตัว-เชือก อาจจะดูไม่น้อยแต่ก็นับว่าไม่ได้มากมายแต่อย่างไร เมื่อช้างเหล่านี้ยังมีภัยคุกคามทำให้ต้องบาดเจ็บล้มตายลงไปในทุกๆ ปี อย่างน้อยปีละ 2 % และตราบใดที่ภัยคุกคามเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข อนาคตของช้างในเมืองไทยก็คงจะมืดมนลงไปเรื่อยๆ และโดยที่ช้างเองก็เคยเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณต่อคนไทยนานับประการจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการทำสงคราม การบรรทุก การเดินทาง การทำไม้ และการท่องเที่ยวบางกลุ่มฯ จึงมีความเชื่อมั่นว่าคนไทยที่ รักช้าง สงสารช้าง และอยากจะช่วยช้างนั้นน่าจะมีอยู่จำนวนมาก เพียงแต่ว่าทุกคนยังไม่รู้ว่าช้างกำลังมีปัญหาอะไร และจะช่วยช้างได้อย่างไร ทางกลุ่มจึงได้ตกลงใจกันร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดปัญหา และวิธีการช่วยเหลือช้าง โดยจะแสวงหาความร่วมมือจากคนทั่วไปภายใต้ชื่อว่า "มูลนิธิคนรักช้าง" ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "มูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย"


วัตถุประสงค์ :

1. ส่งเสริม สนับสนุนหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา บุคคล เอกชน ตลอดจนองค์กรต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ช้างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และกว้างขวางโดยการวิจัย ค้นคว้าและการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม

2. เสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดความเป็นอยู่ที่เหมาะสมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตแก่ช้างเลี้ยง ตลอดจนเพิ่มมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

3. สนับสนุนและเสริมสร้างแนวทางการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และช้าง อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยก่อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นช้างเลี้ยงหรือช้างป่าในธรรมชาติก็ตาม

4. เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล หลักฐาน เอกสาร ตลอดจนสิ่งอ้างอิงเกี่ยวกับช้างและดำเนิน การเผยแพร่ความรู้เหล่านี้แก่สาธารณชน กระตุ้นให้เกิดสำนึกของความเมตตาต่อช้าง รวมถึงความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับช้างอีกด้วย

5. เสริมสร้างสวัสดิภาพ และการสงเคราะห์แก่ประชาชนผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงช้างให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมตามอัตภาพ และสามารถดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและอาชีพการเลี้ยงช้าง สืบทอดต่อไป

6. เป็นสื่อกลางในการจัดหาทุนทรัพย์จากบุคคล หน่วยงาน หรือองค์กรที่มีความสนใจจะช่วยเหลือช้างและดำเนินการกระจายทุนเหล่านั้นไปสู่โครงการต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ช้างอย่าง สูงสุดและสนองเจตนารมณ์ของเจ้าของทุนนั้น

7. เป็นศูนย์กลางทางวิชาการเพื่อจัดหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์ช้างทั้งในและนอกประเทศ

8. ดำรงไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีที่เกี่ยวกับช้างให้คงอยู่สืบไป

9. เพื่อดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

10. ไม่ดำเนินการเกี่ยวกับการเมืองแต่ประการใด


รายนามผู้ก่อตั้งมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย (เดิม มูลนิธิคนรักช้าง) :

1. ดร.สุวิทย์    ยอดมณี

2. รศ.น.สพ.ปานเทพ      รัตนากร

3. น.สพ.สุรเชษฐ์    อุษณกรกุล

4. นายขรรค์    ประจวบเหมาะ

5. นายเศวต    ธนะประดิษฐ์

6. นางศิริวรรณ    ดำเนินชาญวณิชย์

7. นายพนัส    ทัศนียานนท์

8. นายพิทยา    หอมไกรลาศ


ASIAN ELEPHANT FOUNDATION OF THAILAND

Elephants: love them, respect them, please help them

A growing human population has called for increasing economic and social development in Thailand, creating numerous environmental problems. With no ill intention, man has put the continued survival of wildlife underthreat. One of the animals which has been greatly effected by this threat is the elephant, not only the world's largest land mammal but one which has played a large part in man's history throughout Asia. A hundred years ago there were as many as 100,000 elephants in Thailand but a decline in population has taken place at a shocking rate, leaving only about 5,000 elephants whose futures are in doubt. Until now there has been no organization devoted exclusively to helping elephants integrate into modern Thai life by promoting awareness and soliciting assistance from people throughout the country.

From its founding in 1990 to the present, the Asian Elephant Foundation of Thailand has been compiling data on elephants in order to give direction to solving problems by creation the following projects: registering elephants in general database and creation an adopt-an-elephant programme. Through this programme, the Asian Elephant Foundation co-ordinates the health care of 145 elephants. Despite such efforts, however, there are thousands more elephants who aren't receiving attention. Furthermore, the welfare from this fund only addresses the problems of health care. As for proper nutrition, accident prevention, employment (like humans, tame elephants need to be productively occupied for good mental health) and encroachment of habitat (in the case of wild elephants), such problems remain to be addressed.

The Asian Elephant Foundation of Thailand, therefore, will be working on many projects to help integrate elephants into modern Thai life, fulfilling the directives of the organization, whether it is through supporting an elephant shelter, an elephant employment agency, a division for capturing will elephants in mating season (when they can be dangerous), a division for mobile veterinarians or more. In addition there is the continued administration of the foundation which the workers and funds. Indeed, Thai elephants will not be out of danger until people recognize the need to help them co-exist with humans. Therefore the Asian

Elephant Foundation of Thailand would like to invite everyone to contribute to this work before elephants become extinct in Thailand. Anyone can help whether it is by informing us about elephants in trouble or by boycotting trades which endanger elephants. Contributions may be made in the form of money, equipment of time.


Goals

1. Through research and proper organization, the Asian Elephant Foundation of Thailand will supplement and support various official, educational, private and public bodies in their efforts to assist in the efficient and fareaching preservation of wild elephants both in Thailand and beyond.

2. The Asian Elephant Foundation of Thailand will improve the general quality of life for captive elephants by creating an environment conducive to good physical and mental health.

3. The foundation will supplement and support coexistence between humans and elephants living in both captivity and the wild.

4. The foundation will act as a database and centre for documents and reference materials involving Asian elephants. This is in order to promote a proper understanding of elephants and to encourage an exchange of information and dissemination of knowledge to the public which will arouse consciousness and goodwill.

5. The foundation will supplement services and welfare assistance to people whose livelihoods involve elephants by working to preserve traditions and trades which rely culturally and professionally on working with elephants.

6. The foundation will impartially raise funds from individuals and organizations or institutions which are interested in helping elephants. It will also proceed in distributing these funds to various projects for the greatest benefit to elephants and will ensure that these funds are spent according to the patrons' wishes.

7. The foundation will act as a centre for studies and research in order to arrange and transfer technology to facilitate the conservation and management of elephants in Thailand and beyond.


Policy

1.    AEFT is non profit organization.

2.    AEFT will not involve in any political activities.

3.    All Contributions must be spent for the benefit of elephants.

4.    Any decision making concerning to elephants as well as their management must be based on scientific approach.

5.    Both domestic and wild elephant issues are equally concerned by AEFT.

6.    Convincing Thai peoples to accept and increase their awareness that elephant's problems are responsibled by every Thai citizens. They have to share their resources in order to conserve elephants in Thailand.

7.    AEFT will collaborate with other organizations which have common interest in elephants.