ช้างเลี้ยงทุกตัวต้องจดทะเบียนตามกฎหมายสัตว์พาหนะ โดยทางการจะออกตั๋วรูปพรรณให้ ซึ่งใช้การระบุตัวด้วยลักษณะปรากฏ เช่น ตำหนิ ขวัญ ฯลฯ ทั้งนี้มีข้อบกพร่อง คือ การเลือนลาง ซ้ำซ้อน ปลอมแปลง ทำให้มีผู้ลักลอบนำช้างป่ามาสวมตั๋วอยู่บ่อยครั้ง ประชากรช้างในธรรมชาติถูกรบกวนจนลดน้อยลง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีการจดทะเบียนช้างโดยทำเครื่องหมายระบุตัวช้างที่รัดกุมยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันการใช้เครื่องหมายอิเลคโทรนิกส์หรือไมโครชิพ นับเป็นอุปกรณ์ที่ทันสมัย ปลอดภัย ถาวร ตลอดจนปลอมแปลงได้ยากที่สุด จึงถูกพิจารณานำมาใช้ในช้างเลี้ยง
เพื่อให้ช้างเลี้ยงทุกตัวในประเทศไทยมีเครื่องหมายประจำตัวถาวร (ไมโครชิพ)
เพื่อจดทะเบียนและสำรวจสำมะโนประชากรช้างอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
เพื่อป้องกันการลักลอบปลอมแปลง นำช้างป่ามาสวมทะเบียนเป็นช้างเลี้ยง และลักลอบค้าช้างระหว่างประเทศ
1. สัตวแพทย์ประจำมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย พร้อมเจ้าหน้าที่ ทำการสำรวจพื้นที่ และนัดหมายเพื่อทำทะเบียนประวัติช้าง ซึ่งเป็นแหล่งรวมของช้าง โดยจะมีการ
ซักประวัติควาญช้าง และช้าง พร้อมทั้งตรวจเช็คว่าเคยติดเครื่องหมายประจำตัวสัตว์หรือยัง
ทำการติดเครื่องหมายประจำตัวด้วยระบบอิเลคโทรนิกส์ (ไมโครชิพ)
เก็บข้อมูลต่างๆ แยกตามประวัติช้างแต่ละเชือก ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ทราบประชากรช้างเลี้ยงในประเทศไทยอย่างแน่นอน
ช้างเลี้ยงในประเทศไทยทุกเชือกมีการทำเครื่องหมายถาวรด้วยระบบไมโครชิพ
ช่วยป้องกันหรือลดอัตราการลักลอบสวมรวยช้างป่า เท่ากับอนุรักษ์ช้างป่าไว้ได้ทางอ้อม
สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปสู่การวางแผนปฏิบัติการแม่บทสำหรับช้างเลี้ยงของประเทศไทยต่อไป
ได้รับการยกย่องจากประชาคมโลกถึงความตั้งใจ ปรารถนาดีจากชาวไทยและรัฐบาลไทยในการอนุรักษ์ช้างเอาไว้ ตลอดจนเป็นแบบอย่างของประเทศอื่นอีกด้วย